โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงความก้าวหน้าของคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการดำเนินการตามข้อสั่งการของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ครอบคลุม 8 กลุ่มหนี้ ได้แก่
1) การแก้ปัญหาหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปฏิรูปรูปแบบการชำระหนี้ อาทิ การปรับปรุงรูปแบบการจ่ายชำระหนี้คืน จาก “รายปี” เป็น “รายเดือน” เป็นชำระคืนค่างวดแบบเฉลี่ย “เท่ากันทุกเดือน” ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระจาก 15 ปี เป็น 25 ปี การเริ่มชำระหนี้ ให้ผูกกับ “การมีงานทำ” ปรับปรุงลำดับการตัดชำระหนี้ โดยนำไปตัด “เงินต้น” ก่อน แล้วจึงนำมาตัด “ดอกเบี้ย” ปรับลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เหลือ 2% ต่อปี ยกเลิกผู้ค้ำประกันตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ.2564 เป็นต้น
2) การกำหนดให้การไกล่เกลี่ยและการปรับโครงสร้างหนี้เป็นวาระของประเทศ ผ่านกลไกธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินของรัฐ โดย ธปท.จะออกประกาศเรื่อง “การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างยั่งยืน” เพื่อช่วยให้ SFIs สามารถปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้โดยไม่มีข้อกังวลเกี่ยวกับการถูกลงโทษตามกฎหมาย ประกาศของ ธปท. และข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2565 เป็นต้นไป
วันที่ 4 ม.ค. 65 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้โพสต์ผ่านเพจ “ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Cha-o-cha” ย้ำความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ผลักดันให้ปี 2565 นี้ เป็น “ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน” ให้สำเร็จให้ได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรียอมรับว่า วิกฤติโควิด-19 ซ้ำเติมให้ปัญหา “ปัญหาหนี้สินครัวเรือน” มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แต่นายกรัฐมนตรีจะเดินหน้าทุกวิถีทาง เพื่อช่วยบรรเทาภาระและความเดือดร้อนของทุกกลุ่มลูกหนี้ ล่าสุดได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 21 ธันวาคม 64 ผลักดันร่าง พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เข้าสู่รัฐสภาพิจารณา โดยหวังจะได้รับความร่วมมือจากสมาชิกรัฐสภา ผ่านร่าง พ.ร.บ. โดยเร็ว ซึ่งจะส่งผลต่อการแก้หนี้นักเรียน นักศึกษา และผู้ค้ำประกันกว่า 5 ล้านคนด้วย
Comments
Post a Comment