นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับกองบัญชาการตำรวจนครบาลถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่า วันนี้ กทม.ได้หารือร่วมกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยมี พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งรับผิดชอบการจราจร รีวิวหนัง LGBT+ หญิงรักหญิง , ชายรักชาย
ปัจจุบันการจราจรเป็นเรื่องด่วนที่คนกรุงเทพฯ บ่นกันเยอะ โดยเฉพาะโรงเรียนเปิดเต็มที่แล้ว และมีเรื่องฝนตกด้วย จึงมาหารือกับกองบังคับการตำรวจจราจรที่ บก.02 ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการจราจร ที่ประชุมได้ข้อสรุป 5 ข้อ ดังนี้
1. ต้องมีความร่วมมือกันอย่างเข้มข้นของทุกหน่วยงาน เพราะเรื่องจราจรของกรุงเทพฯ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากถึง 30 หน่วยงาน ทั้ง กทม. และตำรวจจราจร ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก รวมถึงหน่วยงานอื่น เช่น กระทรวงคมนาคม ขสมก. รถไฟฟ้า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ต้องมีความร่วมมือกันส่วนใดส่วนหนึ่งให้สำเร็จให้ได้
2. จัดตั้งศูนย์บัญชาการร่วม ปัจจุบันมีอยู่ที่ บก.02 แต่การปฏิบัติยังไม่เข้มแข็งมาก ต่อไปก็จะมีเจ้าหน้าที่ของ กทม. มาร่วมปฏิบัติการด้วย เพราะปัญหาการจราจรติดขัดนั้นเกี่ยวเนื่องกับ กทม. เช่น น้ำท่วม ต้นไม้ล้ม หรือหน่วยงานอื่น เช่น ขสมก. ที่มีรถเมล์เสีย ขณะเดียวกันจะมีเจ้าหน้าที่เทศกิจไปช่วยอำนวยจราจร ช่วยแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน โดย กทม. จะรับผิดชอบในการทำแผนที่จุดติดซ้ำซาก จุดที่ติดมากๆ นำมาประชุมวิเคราะห์ประสานงานหาทางแก้ไขร่วมกัน โดยจะเริ่มทำทันทีเพราะจะเป็นทางที่ช่วยแก้หรือบรรเทาปัญหาได้ โดยผู้บริหารฯ จะมีการหารือร่วมกันทุกเดือนเพื่อดูความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหา
3. เรื่องเทคโนโลยีซึ่งถือว่าสำคัญ เพราะปัจจุบันกล้อง CCTV ของกทม. ที่นำมาใช้ดูแลจราจรที่ บก.02 มีแค่ 100 กว่ากล้อง จากที่กล้องทั้งหมดของกทม. มี 50,000 กว่ากล้อง ในส่วนของการจัดการจราจรใช้ตำรวจที่สี่แยก ซึ่งจะไม่เห็นภาพรวม ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปมากแล้ว เราควรจะมีระบบที่เห็นภาพรวมของการจราจรทั้งกรุงเทพฯ บริหารจัดการไฟจราจรกึ่งออโตเมติก มีคนประจำจุดช่วยดูแลบางเรื่อง การจัดการโดยตัดสินใจในภาพรวมจะช่วยให้สามารถใช้ถนนและสี่แยกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะตั้งคณะทำงานร่วมกันในการทำระบบเทคโนโลยีที่จะมาปรับปรุงการบริหารการจราจร เรียกระบบ Intelligent Traffic Management System (ITMS) ซึ่งทางตำรวจได้มีการศึกษาในเบื้องต้นแล้ว แต่ยังไม่ได้รับงบประมาณ ด้าน กทม. มีระบบ Area Traffic Control (ATC) ดูเฉพาะทางแยก จะนำมารวมกัน ในคณะทำงานจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรุงเทพมหานคร กระทรวงคมนาคม ร่วมพิจารณาระบบที่จะติดตั้งเพื่อบริหารจัดการไฟจราจรทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ กำหนดเป้าหมายศึกษาให้เสร็จใน 1 ปี และเริ่มดำเนินการติดตั้ง
4. เรื่องความปลอดภัย จากกรณีหมอกระต่าย มีข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยตามทางม้าลาย ซึ่ง กทม. ดูด้านกายภาพ แต่เรื่องสำคัญคือการจำกัดความเร็วบนถนนใน กทม. ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการจำกัดความเร็วอย่างเหมาะสมทุกเส้นทาง กทม. ก็จะนำข้อมูลความเสี่ยงจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง มาวิเคราะห์ความเร็วจุดที่ต้องต่ำกว่า 80 กม./ชม. โดยนำมาหารือกับ บช.น. เพื่อกำหนดควบคุมความเร็ว ลดความเร็วในเมือง ชุมชน และเส้นทางที่มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ สามารถทำได้ทันทีในอำนาจของ กทม. ร่วมกับ บช.น. ในการกำหนดความเร็วเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
5. เรื่องรถจักรยานยนต์ ปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากเป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่ง ต้องหาแนวทางที่จะทำให้เกิดความปลอดภัย เช่น ทำเลนจักรยานยนต์ หรือ ทำจุดจอดก่อนถึงสี่แยก แยกจากรถยนต์ ต้องหารือวิศวกรรมจราจรถึงแนวทางที่เหมาะสม เพื่อลดอันตรายของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ หน่วยงานที่ดูแลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจราจรมีมากถึง 37 หน่วยงาน แบ่งความรับผิดชอบเป็นหลายส่วน เช่น กทม. ดูแลโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่ง เช่น ไฟจราจร ถนน สะพาน ป้ายรถเมล์ เป็นต้น และโครงสร้างพื้นฐาน เหล่านี้ก็กระจายความรับผิดชอบไปยังอีกหลายหน่วยงานในสังกัด กทม. ทั้งสำนักโยธา สำนักการจราจรและขนส่ง เป็นต้น กองบังคับการตำรวจจราจร ดูแลเรื่องการบริหารจัดการจราจร จับ/ปรับผู้กระทำผิด หน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมการขนส่งทางบก ดูแลเรื่องสภาพรถ ใบอนุญาตยานพาหนะ กรมทางหลวงชนบท ดูแลสะพานและถนน เป็นต้น
ที่ผ่านมา หน่วยงานที่ทำงานด้านจราจรข้างต้นยังคงบริหารจัดการแยกส่วน ต่างฝ่ายต่างดำเนินการตามขอบเขตอำนาจของตนเอง แม้มีการจัดการประชุมร่วมกัน แต่ประชุมเป็นครั้งๆ ไปตามนัดหมาย ไม่มีศูนย์กลางที่ทุกหน่วยงานเข้ามาร่วมกันบริหารเป็นประจำ จึงส่งผลให้การแก้ไขปัญหาจราจรล่าช้า และไม่ได้รับการจัดการปัญหาอย่างเหมาะสมทันที
ดังนั้น กทม.จะจัดตั้งศูนย์ควบคุมสั่งการจราจรกลาง (Command Center) ร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารการจราจรเกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน จัดการจราจรโดยภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพ สอดประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ไร้รอยต่อ โดยจัดตัวแทนเจ้าหน้าที่ กทม. เข้าร่วมทำงานกับตำรวจอย่างใกล้ชิด
Comments
Post a Comment